สิทธิประโยชน์ ประกันสังคม

 

สิทธิประกันสังคม

      การประกันสังคม คือการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มของสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการเพื่อรับผิดชอบในการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ ตาย สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างเงิน เพื่อให้ได้รับการรักษาพยาบาลและมีรายได้อย่างต่อเนื่อง

      ผู้ประกันตนคือ ลูกจ้างที่เริ่มเข้าทางานอายุ ไม่ต่ำกว่า 15 ปี และไม่เกิน 60 ปี และอยู่ใน สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปซึ่งทั้งนายจ้างและลูกจ้างต้องขึ้นทะเบียนประกันสังคมการจัดเก็บเงิน

       สานักงานประกันสังคมเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการสร้างหลักประกันความมั่นคงในการดารงชีวิตให้แก่ ลูกจ้าง ผู้ประกันตน ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างหรือผู้ประกันตน ที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ และ ตายอันไม่เนื่องจากการทางาน รวมทั้ง การคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และการว่างงานตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2537 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542 และ(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2558   ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง ที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย สูญหายหรือ สูญเสียสมรรถภาพ การทางานของอวัยวะอันเนื่องมาจากการทางาน ให้แก่นายจ้างตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ2537และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561

หน้าที่หลักของสานักงานประกันสังคม.

1. ขึ้นทะเบียนนายจ้าง/ลูกจ้าง

2. จัดเก็บเงินสมทบนายจ้าง/ลูกจ้าง

3. ให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้าง/ผู้ประกันตน

4.บริหารเงินกองทุน 2กองทุน

      สถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1คนขึ้นไปมีหน้าที่นาส่งเงินสมทบและแจ้งรายชื่อผู้ประกันตนภายใน 30วัน   นับแต่วันที่รับลูกจ้าง

พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับ

1. ข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ

2. ลูกจ้างของรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศ

3. ลูกจ้างของนายจ้างที่มีสานักงานในประเทศและไปประจำทำงานในต่างประเทศ(เริ่มคุ้มครองตั้งแต่ 20 ต.ค. 2558)

4. ผู้อำนวยการ ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียนเอกชน

5. นักเรียน นักเรียนพยาบาล นิสิต นักศึกษา แพทย์ฝึกหัด

6. ลูกจ้างของสภากาชาดไทย สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ รัฐวิสาหกิจ

7. ลูกจ้างที่นายจ้างจ้างไว้เป็นครั้งคราวเป็นการจร หรือตามฤดูกาล                                                        

ประเภทของผู้ประกันตน

โดยบังคับ   ผู้ประกันตนมาตรา 33 (มีนายจ้าง)

โดยสมัครใจ  ผู้ประกันตนมาตรา 39 , 40

พระราชบัญญัติประกันสังคม

   การคุ้มครอง ผู้ประกันตนมาตรา.33และมาตรา39

     -ประสบอันตราย/เจ็บป่วย

     -ทุพพลภาพ

    - ตาย

     -คลอดบุตร

    -สงเคราะห์บุตร

    -ชราภาพ

   -ว่างงาน(เฉพาะ ม.33)

 

 

เงื่อนไขการได้สิทธิและสิทธิประโยชน์

1.กรณีเจ็บป่วย

จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3เดือนภายใน 15เดือนก่อนป่วย (จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือนก่อนเดือนที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย) กรณีผู้ประกันตนเข้า รพ.ตามบัตรฯไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ใช้สิทธิได้ตามระเบียบหลักเกณฑ์และอัตราที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด

   1.1กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน  ไม่สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลตามสิทธิ

         สถานพยาบาลของรัฐ

            - ผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น

            - ผู้ป่วย ในเบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ค่าห้องและอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท

        สถานพยาบาลของเอกชน

             - ผู้ป่วยนอก เบิกค่ารักษาได้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 1000 บาท

            - ผู้ป่วย ในเบิกค่ารักษาได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด  ภายในระยะเวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง ค่าห้องและอาหาร ไม่เกินวันละ 700 บาท

   1.2 ค่าอวัยวะเทียมอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค เบิกได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด

   1.3 ค่าบริการทางทันตกรรม ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน และผ่าฟันคุด เบิกได้ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 900บาทต่อปีปฏิทิน ส่วนเกินชำระเงินเอง

   1.4 กรณีบำบัดทนแทนไตและปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ  เบิกได้ตามหลักเกณฑ์และอัตราที่คณะกรรมการแพทย์กำหนด   

   1.5 เงินทดแทนการขาดรายได้ ต้องหยุดงานตามคำสั่งแพทย์ หากหมดสิทธิได้รับค่าจ้างจากนายจ้างในวันลาป่วยตามกฎหมายจะได้รับเงินทดแทน ร้อยละ50ของค่าจ้าง ครั้งละไม่เกิน 90 วันและไม่เกิน 180 วันต่อปีปฏิทิน เว้นแต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังจะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ไม่เกิน 365 วันต่อปี

2.กรณีคลอดบุตร

   จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 5เดือน ภายใน 15เดือนก่อนคลอด(จ่ายเงินสมทบครบ 5 เดือนก่อนเดือนที่คลอดบุตร)      จะได้รับค่าคลอดบุตรเหมาจ่ายจำนวน 15,000บาท (ไม่จำกัดจำนวนครั้ง) สามารถคลอดบุตรที่สถานพยาบาลใดก็ได้

3.กรณีตาย

  จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 1เดือน ภายใน 6เดือนก่อนตาย(จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือนก่อนเดือนที่ถึงแก่ความตาย)                        ได้รับค่าทำศพ 50,00 บาท และได้รับเงินสงเคราะห์ตามหลักเกณฑ์

4.กรณีสงเคราะห์บุตร

  จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12เดือน ภายใน 36เดือนก่อนมีสิทธิ(จ่ายเงินสมทบครบ 12 เดือนก่อนเดือนที่ใช้สิทธิ)     ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่าย เดือนละ 800 บาทต่อบุตรหนึ่งคน คราวละไม่เกิน 3 คน ซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์

5.กรณีว่างงาน

   จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6เดือน ภายใน 15เดือนก่อนว่างงาน(จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือนก่อนการว่างงานจากการทำงานกับนายจ้างรายสุดท้าย)

6.กรณีทุพพลภาพ

   จ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 3เดือนภายใน 15เดือนก่อนทุพพลภาพ(จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือนก่อนเดือนที่ทุพพลภาพ) ค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลรัฐเบิกได้ตามจริง ส่วนของเอกชนเบิกได้ตามหลักเกณฑ์กำหนด

7.กรณีชราภาพ

    .เงินบำนาญชราภาพ(จ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต) เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนและมีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์และมีความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

    .เงินบำเหน็จชราภาพ(จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว) ) เมื่อจ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนและมีอายุครบ 55 ปี บริบูรณ์และมีความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง

 

ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39

     คือบุคคลที่เป็นผู้ประกันตน มาตรา33 มาก่อนแล้วออกจากงานแล้วไม่เกิน 6 เดือนและส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม ใช้สิทธิได้6 กรณี ยกเว้นกรณีว่างงาน

ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 40

   คือบุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา33 และ 39ไม่เป็นขาราชการหรือรัฐวิสาหกิจ สิทธิประโยชน์เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเกิดสิทธิ  ซึ่งมีลักษณะการเลือกสมัคร 3 ทางเลือก

   1.ทางเลือกที่จ่าย 70 บาท/เดือน

   2.ทางเลือกที่จ่าย 100 บาท/เดือน

   3.ทางเลือกที่จ่าย 300 บาท/เดือน

ผู้ที่มีสิทธิสมัคร

 1. ต้องมีสัญชาติไทย อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีและไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์

 2.ผู้ถือบัตรประจำตัวคนไทยซึ่งไม่มีสัญชาติไทยที่มีเลขประจำตัวหลักแรกเป็นเลข 0 หรือ6 หรือ7

3. ผู้พิการร่างกายที่รับรู้สิทธิ

โรคที่กำหนดให้ไม่อยู่ในความคุ้มครอง(8โรค)

1. การบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติด ยกเว้นการให้สารเมทาโดนเพื่อบาบัดรักษา โดยจ่ายเป็นค่าสารเมทาโดนแก่สถานพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 30 บาท/วัน ตามหลักเกณฑ์

2. การกระทาใด ๆ เพื่อความสวยงามโดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

3. การรักษาที่ยังอยู่ในระหว่างการค้นคว้าทดลอง

4. การรักษาภาวะมีบุตรยาก

5. การตรวจใด ๆ ที่เกินความจาเป็นในการรักษาโรคนั้น

6. การเปลี่ยนเพศ

7. การผสมเทียม

8. การบริการระหว่างรักษาตัวแบบฟักฟื้น

9. แว่นตา


รายชื่อสถานพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พร.

แผนที่คลินิกเครื่อข่ายประกันสังคม รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์










 

update :  1/03/2566

สิทธพิเศษผู้ประกันตนที่เลือก รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

สิทธพิเศษผู้ประกันตนที่เลือก รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

*สิทธิพิเศษด้านการรักษาพยาบาล
- ทำหมันชาย(กรณีผู้ป่วยนอกเท่านั้น) ฟรี
- ทำหมันหญิง(กรณีผ่าตัดคลอดและต้องการทำหมัน) ฟรี

*สิทธิพิเศษค่าห้องพัก
- ห้องพิเศษเดี่ยวปรับอากาศ ราคาห้อง 1,800 บาท/วัน ฟรี                                                                                

*สิทธิพิเศษสำหรับสถานประกอบการ
- หากท่านมีผู้ประกันตนที่เลือกประกันสังคม รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ตั้งแต่ 700 คนขึ้นไป โรงพยาบาลจะจัดฝึกอบรมสอนการกู้ชีพพื้นฐานให้พนักงาน ฟรี  ถ้า 1000คนขึ้นไปจัดฝึกอบรมสอนการกู้ชีพพื้นฐานและการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ฟรี

เงื่อนไข

*ทำการสอนบริษัทละ1ครั้ง ไม่เกิน 50 คน ในระยะเวลา 1 วัน(หากเกินจำนวนที่กำหนด มีค่าใช้จ่ายท่านละ 1000 บาท) ภายในระยะทางไม่เกิน 50 กม.จากโรงพยาบาล

*สามารถทำการสอนซ้ำได้หากบริษัทมีผู้ประกันตนจำนวน1,000คนขึ้นไปติดต่อกันต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 3 ปี

*บริการอื่น ๆ
- เรามีห้องรับรองสิทธิประกันสังคม (ไม่รวมกับสิทธิอื่น)
- เรามีช่องรับยาเฉพาะผู้ประกันตน
- ภายในห้องตรวจรักษาสิทธิประกันสังคมมีมุมกาแฟบริการ ฟรี และนั่งพักผ่อนคลายเพื่อรอเรียกชื่อเข้าพบแพทย์
- เรามีคลินิกเครือข่ายประกันสังคมในพื้นที่ต่าง ๆ จำนวนหลาย 41 แห่งไว้สำหรับบริการท่าน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการรักษาและลดการเดินทางไกล

หากท่านมีข้อสงสัยประการใดโปรดติดต่อฝ่ายประกันสังคมของ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์        โทร. 0 38-24 5936 ในเวลาราชการ
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ยังรับผู้ประกันตนอีกเป็นจำนวนมาก

 


ข้อมูล Update 10/08/2566

 

 

พระราชบัญญัติประกันสังคม

1. คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้เฝ้าไข้

- ผุ้เฝ้าไข้ต้องอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา กรณีต้องการความช่วยเหลือให้กดกริ่งเรียกพยาบาล

- ไม่เก็บของมีค่าไว้กับผู้ป่วย/ในห้องพิเศษ เช่น เงิน เครื่องประดับ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ หากสูญหายทางโรงพยาบาลจะไม่รับผิดชอบ กรณีที่มีความจำเป็น กรุณาฝากสิ่งของดังกล่าวไว้กับพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย หรือพยาบาลหัวหน้าเวร

- งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา/ของมึนเมา ภายในโรงพยาบาล

- กรุณาลดเสียงดัง เนื่องจากผู้ป่วยต้องการพักผ่อน

- ไม่อนุญาตให้ประกอบอาหารในห้องพักผู้ป่วย

- การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ขอให้ใช้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

2. คุณสมบัติของผู้เฝ้าไข้

- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี)

- ต้องมีสุขภาพแข็งแรงและสภาวะจิตปกติ สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยและทีมการพยาบาลได้ สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในเบื้องต้น

- กรณีเป็นผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) หรือมีโรคประจำตัว ต้องไม่อยู่ในระยะเจ็บป่วยหรือระยะพักฟื้น

กองทุนเงินทดแทน

     กองทุนเงินทดแทนคือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย สูญเสียอวัยวะหรือสูญเสียสมรรถภาพในการทำงานของร่างกายอันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยไม่คำนึงถึงวัน เวลาและสถานที่ แต่จะดูสาเหตุที่ทำให้ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย

      ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้าง ที่ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย สูญหายหรือ สูญเสียสมรรถภาพ การทางานของอวัยวะอันเนื่องมาจากการทางาน ให้แก่นายจ้างตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ2537และ(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561

 

วัตถุประสงค์

     เพื่อให้ความคุ้มครองลูกจ้างที่เจ็บป่วยหรือประสบอันตราย ทุพพลภาพ สูญหาย ตาย หรือ สูญเสียสมรรถภาพการทางานของอวัยวะอันเนื่องมาจากการทางานให้แก่นายจ้าง หรือป้องกันรักษาผลประโยชน์ให้นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง  หรือจากสภาพแวดล้อมในการทางานที่นายจ้างจัดไว้ไม่ปลอดภัย

อัตราการนาส่งเงินสมทบ

นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนแต่เพียงฝ่ายเดียวในอัตราร้อยละ0.2-1.0ของค่าจ้างต่อปี(ต้องไม่เกิน240,000บาทต่อคน)ตามประเภทความเสี่ยงของกิจการซึ่งกำหนดไว้2ประเภท ดังนี้

   1.อัตราเงินสมทบหลัก (0.2%-1.0%)

    2.อัตราเงินสมทบตามค่าประสบการณ์ (ลดลงไม่เกิน 50% เพิ่มขึ้นไม่เกิน 50%

สิทธิประโยชน์จากกองทุนเงินทดแทน

   1.ค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาท ไม่เกิน 1,000,000 บาท ตามหลักเกณฑ์ เว้นแต่เข้ารักษาพยาบาลใน รพ ของรัฐตั้งแต่แรก จ่ายตามความจำเป็นที่ เพิ่มขึ้นจนสิ้นสุดการรักษาพยาบาล ( ใช้ 9 เมย 63)

   2.ค่าทดแทน ร้อยละ 70 ของค่าจ้างรายเดือน กรณีหยุดงาน (ตามใบรับรองแพทย์ ไม่เกิน 1 ปี)

   3.กรณีสูญเสียอวัยวะค่าทดแทน ได้รับ 70%ของค่าจ้าง (สูญเสียบางส่วน ค่าทดแทนไม่เกิน 10 ปี)

      กรณีทุพพลภาพ (ค่าทดแทนตลอดชีวิต)

   4.กรณีตาย (ค่าทดแทน 10 ปี) ค่าทำศพ เหมาจ่าย 50,000 บาท (ใช้12 กค 64)

   5.ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ไม่เกิน 358,000 บาท โดยได้รับความคุ้มครอง ตั้งแต่วันแรกที่นายจ้างรับเป็นลูกจ้าง

  ในกรณีลูกจ้างเข้ารักษาตัวเป็นผู้ป่วยในค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาลและค่าบริการทั่วไป จ่ายเท่าที่จ่ายจริงไม่เกินวันละ 1,300  บาท

    การประเมินสูญเสียอวัยวะ จะต้องสิ้นสุดการรักษา และอวัยวะคงที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 1ปี นับแต่วันที่ประสบอันตราย

 

ระยะเวลาการแจ้งการประสบอันตราย

   -นายจ้างต้องแจ้งภายใน 15วัน

   -ลูกจ้าง หรือ ผู้มีสิทธิ แจ้งภายใน 180 วัน

  -กรณีเจ็บป่วยเกิดขึ้นหลังสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างแจ้งภายใน สองปี นับแต่วันที่ทราบการเจ็บป่วย

 

ไม่จ่ายเงินทดแทน กรณี

  1.เสพเครื่องดองของเมาหรือสิ่งเสพติดจนไม่สามารถครองสติได้

   2.จงใจให้ตนเองหรือยอมให้ผู้อื่นทาให้ตนประสบอันตราย

 

 

พ.ร.บ.นี้ไม่ใช้บังคับแก่

1. ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น เฉพาะข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ

2. รัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์

3. รัฐบาลต่างประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศ สำหรับลูกจ้างซึ่งมิใช่เป็นการจ้างงานในประเทศ

4.นายจ้างอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

กำหนดเวลายื่นแบบและสถานที่ขึ้นทะเบียน

  นายจ้างมีหน้าที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียนกองทุน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คน โดยให้นายจ้างยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคม ณ ท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่

เอกสารประกบการยื่นขึ้นทะเบียน

1.แผนที่ตั้งและภาพถ่ายของสถานประกอบการ

2.หลักฐานแสดงตัวนายจ้าง

3.หนังสือมอบอำนาจ(แนบสำเนาบัตรประชาชนผู้มอบอำนาจ)

4.หนังสือสัญญาเช่าหรือหนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่

การเข้ารับการรักษาพยาบาล

  นายจ้างจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีในสถานพยาบาลใดก็ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแบ่งเป็น 2 กรณี

   1.สำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน  ต้องยื่นคำร้องขอรับเงินทดแทนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่ประสบอันตราย

   2.กรณีเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลในความตกลง ให้นายจ้างส่งแบบ กท.44 ลูกจ้างไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลสถานพยาบาลในความตกลงของกองทุนเงินทดแทนจะเรียกเก็บจากกองทุนเงินทดแทนในวงเงินกฎหมายกำหนด

การแจ้งประสบอันตราย

    นายจ้างหรือผู้รับมอบอำนาจ แจ้งตามแบบ กท.16 โดยยื่นเรื่อง ณ สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาทุกแห่งทั่วประเทศ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ทราบการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้าง

การแจ้งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานกองทุนเงินทดแทนผ่านระบบe-Compensate

    เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน นายจ้าง ลูกจ้าง หรือผู้มีสิทธิ สามารถแจ้งการประสบอันตรายผ่านระบบe-Compensate โดยการสมัครขอทำธุระกรรมผ่านอิเล็กทรอนิกส์และเข้าใช้ระบบได้ที่ www.sso.go.th หัวข้อ SSO E-Service

ช่องทางการรับเงินทดแทนและหลักฐานที่ต้องใช้

  1. รับที่สำนักงานประกันสังคมที่รับผิดชอบ โดยรับเงินด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจรับเงินแทนใช้หลักฐานคือ  บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้
  2. รับผ่านทางไปรษณีย์

2.1 ธนาณัติ

2.2 ส่งเช็คทางไปรษณีย์

     3.รับผ่านบัญชีออมทรัพย์ธนาคาร 4 แห่ง

          3.1 ธนาคารกรุงไทย

3.2ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

3.3 ธนาคารออมสิน

3.4 ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

แผนกสิทธิบริษัทประกันชีวิตและคู่สัญญา

สำนักงานสิทธิประโยชน์ ฝ่ายการเงิน รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ

 

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสิทธิความคุ้มครองด้านประกันชีวิต ประกันภัย(อุบัติเหตุ) และบริษัทเอกชน ที่ขอเปิดทำข้อตกลง กับ งานคู่สัญญา รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พร. เพื่อขอใช้เครดิต ด้านค่ารักษาพยาบาลกับ รพ. ฯ ทั้งในกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

งานคู่สัญญาหรืองานคู่ตกลง

          (กรณีOPD) เป็นภาระงานที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบและออกสิทธิคู่สัญญา เพื่ออนุมัติวงเงินให้การรักษาพยาบาลแก่พนักงานและบุคคลในครอบครัวผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับเครดิตด้านค่ารักษาพยาบาล (ผู้ทำประกันสุขภาพรายกลุ่ม/รายเดี่ยว/ประกันอุบัติเหตุ(ประกันโรงเรียน) หรือเป็นสมาชิกของบริษัทเอกชน) ซึ่งบริษัทนั้นๆ เป็นผู้ออกสิทธิบัตรประจำตัวให้แก่บุคคลดังกล่าว ข้างต้น

(กรณีIPD) เมื่อหอผู้ป่วยสรุปจำหน่ายผู้ป่วยแล้ว ต้องส่งประวัติเพื่อให้แผนกงานคู่สัญญาดำเนินการ Fax claim หรือ Scanส่งทาง E-mail กับฝ่ายสินไหมของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งใช้เวลาประมวลผลและตอบกลับนาน 1-2 ชม.
      โทร. 038-245735-69 ต่อ 69055  แผนกสิทธิบริษัทประกันชีวิตและคู่สัญญา